วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เครื่องปั้นดินเผา

                        




 
     เครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทยในปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งในอดีตเรียกได้ว่าเป็นของขึ้นชื่อของคนไทยเลยก็ว่าได้ เป็นเหมือนวัฒนธรรมของคนไทย แต่กลับค่อยๆสูญหายไป เพราะว่าคนไทยนั้นนิยมที่จะใช้ของตามยุคตามสมัย โดยนำวัฒนธรรม สิ่งของจากฝั่งตะวันตกมาใช้กันมากกว่า ผมจึงทำบล็อคนี้ขึ้นมาเพื่อให้คนไทยได้รู้จักกับของใช้อย่างหนึ่งในอดีตที่เรียกว่าเครื่องปั้นดินเผา มันมีประโยชน์อย่างไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้เข้ามาชมบล็อคนี้ไม่มากก็น้อย ข้อมูลใดไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ








  ถ้าให้พูดถึงเครื่องปั้นดินเผาคนส่วนใหญ่จะนึกถึงสถานที่ในจังหวัดนนทบุรี ที่มีชื่อเรียกกันว่า "เกาะเกร็ด" และในบทความนี้ผมขอนำเสนอสถานที่ผลิดเครื่องปั่นดินเผาที่มีชื่อเสียงในเกาะเกร็ด มีชื่อว่า โรงงานเครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่ม ที่แห่งนี้มีประวัติความเป็นมาคือ บรรพบุรุษของป้าตุ่มเป็นคนชาวมอญ ชาวรามัญ ก็จะปั้นโอ่ง ปั้นอ่างสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน โดยสมัยนั้นก็จะทำกันเป็นอาชีพหลักสืบต่อกันมาเรื่อยๆ โดยปัจจุบันก็พัฒนาการมาเป็นโรงงานเครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่มอย่างทุกวันนี้ และทางโรงงานยังทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับผู้คนที่อย่างจะศึกษาเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา อีกทั้งยังเป็นจุดขายหรือของขึ้นชื่อของเกาะเกร็ดอีกด้วย



คุณน้าสุทัตตา ฤทธิ์เดช ลูกสาวของป้าตุ่ม (เจ้าของโรงงานเครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่ม)




   เครื่องปั้นดินเผานั้นมีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตนานและต้องมีความประณีตในการผลิต โดยมีขั้นตอนการผลิตต่อไปนี้ 

1.เริ่มจากดิน ดินที่เขาใช่ปั้นกันนั้นเป็นดินเหนียว ดินท้องนาโดยจะมาเป็นแท่งสี่เหลี่ยมๆเราต้องใช้พลั้วซอยให้เป็นแผ่นบางๆเหมือนวุ่นสับๆ จากนั้นใช้น้ำรด และใช้เท้าคนนวดหลังจากนั้นทำการหมักไว้ในบ่อ โดยจะเรียกว่าบ่อพักดิน แล้วนำดินขึ้นมาเข้าเครื่องนวดอีกทีป่นออกมาเป็นหลอด ดินนำมาจากปทุมธานี
บ่อพักดิน

2.นำดินมาตัดตามขนาด และนำมาให้ช่างปั้น โดยใช้อุปกรณ์แป่นปั้นในการปั้นดิน พอขึ้นรูปช่างก็จะแต่งทรงดินให้เป็นทรงต่างๆ



แป้นปั้น
3.เมื่อนำขึ้นรูปช่างก็จะตกแต่งลาย โดยที่มีชื่อเสียงอยู่มากและที่นิยมทำกันก็จะเรียกว่าเครื่องปั้นดินเผาลายวิจิตร เมื่อปั้นช่างจะใช้ใบมีดค่อยๆแกะสลัก 

4.นำเครื่องปั้นดินเผาไปไว้ในเตาเผาขนาดใหญ่ บรรจุให้เต็มเตาและทำการเผาด้วยไฟอ่อน แล้วค่อยเร่งแรงสลับกันไปเป็นเวลา3วัน2คืน และทิ้งไว้เป็นเวลา20 วัน


เครื่องปั้นดินเผาที่นำมาไว้จนเต็มเตา
เตาเผาขนาดใหญ่



    ดินที่ใช้ทำการผลิตเครื่องปั้นดินเผานั้นจะแยกออกมาได้2ประเภท เป็นดินกรองกับไม่กรอง ดินที่จะนำมาทำเครื่องปั้นดินเผาแยกออกเป็นชนิดคืองานละเอียดกับไม่ละเอียด ถ้างานละเอียดก่อนทำจะทำการนวดดิน และนำดินมาหมักนำมากรองเหมือนแป้งเอาใส่ผ้ามุ่งเพื่อกรองให้มันได้ที่ถึงจะนำมาขึ้นแป่น โดยจะต้องใช้น้ำฉีดตลอดเวลา ดินไม่กรอง ดินอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องกรองเป็นดินทั่วไป โดยจะนำมาแกะเหมือนกันโดยงานจะหยาบนิดหน่อย แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะอนุรักษ์การแกะลายวิจิตรเป็นเอกลักษณ์ของงานแกะของชาวมอญ

เครื่องปั้นลายวิจิตร



เครื่องปั้นดินเผานั้นเมื่อนำมาขึ้นรูปแล้ว ตัวชิ้นงานจะได้เป็นผิวเรียบที่ไม่มีลวดลายใดๆและขาดความสวยงาม ดังนั้นหลังจากที่ทำการผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามรูปทรงที่ต้องการแล้ว เราก็จะต้องนำมาแกะสลัก หรือ ตกแต่งลวดลายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสวยงาม และทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม จึงเกิดเป็นวิธีการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา ดังต่อไปนี้

       การใช้เครื่องมือขูด (Incising)
       เป็นการตกแต่งวิธีที่เก่าแก่ที่สุดในการตกแต่งภาชนะซึ่งทำมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้วสามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่หาได้ง่าย นำมาตกแต่งภาชนะในขณะที่ดินนิ่มหรือหมาดตัวให้เกิดเป็นลวดลาย เช่น ใช้หวี ส้อม ดุนให้เกิดล่องลอย

       

       การทำลวดลายจากลูกกลิ่ง (Rolling)
       ลวดลายซ้ำๆบนดินแผ่นก่อนนำไปประกอบเป็นภาชนะ นั้น สามารถทำได้จากการแกะสลักลวดลายไว้บนลูกกลิ้งที่หล่อขึ้นจากปูนปลาสเตอร์

       การกดลวดลาย (Impressing)
       เป็นการตกแต่งที่ทำอย่างเป็นธรรมชาติ

       การตีภาชนะเพื่อให้เกิดลวดลาย (Paddling)
       เป็นการใช้ไม้แผ่นแบนๆ หรืออุปกรณ์ชนิดอื่นตีภาชนะให้เกิดเป็นลวดลาย การใช้ไม้ที่มีลวดลายตีที่ผิวภาชนะจะทำให้เกิดพื้นผิวที่แปลกตาและน่าสนใจขึ้น วิธีนี้จะนิยมทำเมื่อขึ้นรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว

       การทำภาชนะลวดลายหินอ่อน (Marbling)
       ทำให้ภาชนะเกิดลวดลายหินอ่อนสามารถ์ทำได้หลายวิธีและในภาพดินนุ่มและหมานดเทคนิคที่นิยมทำกันมานาน คือ การผสมดินสี 2 สีเข้าด้วยกันเล็กรน้อยแล้วนำไปขึ้นรูปบนแป้นหมุนจะได้ภาชนะที่มีลวดลายคล้ายหินอ่อน
       การผสมวัสที่เผาไหม้ได้บนผิวดิน (Maxing Burned-out Materials)
       การตกแต่งให้ผิวดินมีร่องรอยธรรมชาติที่น่าสนใจนั้นสามารถทำได้ โดยการใช้วัสดุที่เผาไหม้ได้ชนิดต่างๆ เช่น แกลบ กากกาแฟ ขี้เลื่อย โรยบนผิวดิน จากนั้นใช้ลูกกลิ้งกลิ้งทับแล้วขึ้นรูปเป็นภาชนะตามต้องการ เมื่อนำไปเผาดิบ วัสดุที่โรยไว้จะไหม้ออกหมดเหลือแต่ร่องรอยหรือรูพรุนบนพื้นผิวดินที่แปลกตา เป็นวิธีที่มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด

     
     เครื่องปั้นดินเผานั้นเป็นงานหัตถกรรมซึ่งถูกทำขึ้นจากฝีมือมนุษย์ มีความเกี่ยวข้องมาตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์ในสมัยโบราณจะนำเครื่องปั้นดินเผาไปใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องครัว การก่อสร้าง และใช้ในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ แต่ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและการผลิตสิ่งที่มาทดแทนเครื่องปั้นดินเผา เช่น เครื่องครัวที่ทำจากกระเบื้อง ใช้อิฐ ปูน แทนในการก่อสร้าง ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่่เริ่มไม่นิยมใช้เครื่องปั้นดินเผากันในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่เรียกว่าเครื่องปั้นดินเผาก็ยังไม่สูญหายไปจากประเทศ ยังคงอยู๋เป็นงานหัตถกรรมและวัฒนธรรมสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราควรจะช่วยกันรักษา อนุรักษ์สิ่งที่บรรพบุรุษเราคิดและสร้างขึ้นมา เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสวยงามของงานหัตถกรรมที่มีชื่อว่า "เครื่องปั้นดินเผา" และดำเนินสืบสานกันต่อๆไปเพื่อให้เป็นเครื่องหมายการค้าของประเทศและเป็นวัฒนธรรมที่สวยงามของคนไทยตลอดไป 



เครื่องปั้นดินเผาที่คนชาวมอญตกแต่งลวดลาย 


เครื่องปั้นดินเผาที่คนชาวมอญตกแต่งลวดลาย 

ภาพถ่ายนี้ถ่ายมาจาก โรงงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านโอ่งและโรงงานเครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่ม เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี



วิดีโอบรรยากาศ โรงงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านโอ่ง


โรงงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านโอ่ง

คลิปวิดีโอจากคุณกชพร นพคุณ 



วิดีโอสัมภาษณ์ น้าสุทัตตา ฤทธิ์เดช อธิบายถึงขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา




บรรณานุกรม

1.สุขุมาล เล็กสวัสดิ์.  (พ.ศ.2548).  เครื่องปั้นดินเผา พื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน.  
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ทรงพันธ์ วรรณมาศ.  (พ.ศ.2532).  เครื่องปั้นดินเผา.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์

3.นาถวุฒิ พรึงลำภู,  &  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ.2555). การศึกษารูปแบบเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด ภูมิปัญญาจังหวัดนนทบุรีเพื่อออกแบบชุดตกแต่งสวนไทย : กรณีศึกษา รีสอร์ทบางพลัด

4.ทวีพร โพธิ์ทอง.  เจ้าของโรงงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านโอ่ง  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. สัมภาษณ์ 20 ตุลาคม 2558

5.สุทัตตา ฤทธิ์เดช.  เจ้าของโรงงานเครื่องปั้นดินเผาป้าตุ่ม  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. สัมภาษณ์ 20 ตุลาคม 2558

6.กชพร นพคุณ.  เจ้าช่องกรกพร นพคุณ (Youtube)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น